21 กุมภาพันธ์ 2552

สนิมเกิดจากเนื้อในตน





ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัย คณะกรรมการสิทธิฯ ชุด “เสน่ห์ จามริก” พ้นจากตำแหน่งแล้ว" พาดหัวข่าวนี้ตีพิมพ์ในมติชนก่อนนำมาเสนอซ้ำในเว็ปประชาไท (ดูรายละเอียด http://www.prachatai.com/05web/th/home/15628 )สาระใหญ่ใจความคือ คณะกรรมการสิทธิชุด เสน่ห์ หมดวาระไปแล้ว แต่กลับยังนั่งกินตำแหน่งโดยอาศัยช่องทางกฏหมาย


ข่าวนี้ยอมรับว่า สร้างความรู้สึก Shock พอๆกับข่าว เอ็นจีโอด้านสิทธิมนุษยนชนอึ้งกับท่าทีของนางคลินตันกรณีความสัมพันธ์กับจีน (http://news.yahoo.com/s/afp/20090220/pl_afp/usdiplomacyasiachinarights)



ที่ว่าอึ้งเพราะ เสน่ห์ จามริก คือ ปูชนียบุคคล ที่น่าเคารพนับถือ รวมถึงบรรดากรรมการท่านอื่นๆ
ที่ว่าอึ้งก็เพราะ ทำไม บรรดาปูชนียบุคคลเหล่านี้ จึงหลงใหลกับเก้าอี้เหล่านี้


มันมีอะไรหอมหวานถึงขนาดเอาเกียรติภูมิที่สั่งสมมาชั่วชีวิตเข้าแลก


"ความไม่ชอบธรรม" ในกระบวนการได้มาซึ่งตำแหน่ง นี้ มันก่อให้เกิดวิกฤติศรัทธาอย่างช่วยไม่ได้ว่า แล้วสิ่งที่ กสม. คิด ทำ มันเป็นไปเพื่ออะไร มีมาตราฐานแค่ไหน


มันไม่แแปลกหากจะมีใครกล้าถามทะลุกลางปล้องว่า ใช่หรือไม่ว่า สิ่งที่กสม.ทำก็เพียงเพื่อสนับสนุนฐานเก้าอี้ที่
ไม่มีความชอบธรรม ตามภาษานักเคลื่อนไหวว่า "เอาประชาชนเป็นโล่ห์มนุษย์" ?




นางสุนี ไชยรส หนึ่งใน กสม. ที่มีปัญหาเรื่องสถานะภาพตามคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุด เคยช่วยเหลืออย่างมุ่งมั่นกับการรุกที่สาธารณะของ จินตนา แก้วขาว ให้สามารถเช่าที่ได้อย่างถูกต้องโดยอ้างเรื่องของ การแก้ปัญหาที่ดินทำกินของคนยากคนจน



ถามว่า จินตนา ยากจน จริงหรือ ? แล้วทำไมต้องเป็นที่ติดริมทะเล



เห็นข่าวเรื่องนี้ทีไรก็นึกถึง สปก.๔-๐๑ ที่เศรษฐีเข้าแถวรับเอกสารสิทธิไม่ได้


โชคยังดีที่การทำประชาคมหมู่บ้านไม่อนุมัติไม่เช่นนั้น การรุกที่โดยกลุ่มคนอยากจนก็คงระบาดหนัก




วันนี้ เราจะเชื่อได้อย่างไรว่า สิ่งที่ดำเนินการไม่มี Agenda เช่น ล่าสุดการจัดอันดับสิทธิมนุษยชนปี 51ด้วยการใช้มาตราฐานของ กสม. ชี้ความก้าวหน้า-ถดถอย ของประเด็นสิทธิมนุษยชน(http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01p0131190252&sectionid=0101&day=2009-02-19)


เราจะเชื่อได้อย่างไรว่า กสม.ระดับท้องถิ่น จะไม่มี Agenda เพราะขนาด กสม.ระดับอินเตอร์ก็ถูกเผย Agenda จากปากของนางคลินตันเองว่า ประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นเรือปืนนำร่องเรือหลวงคือระบบทุนในทัศนะของตะวันตก นั่นก็คือ ทุนที่ตะวันตกเป็น "เจ้าผู้ครอบครอง"" แต่แรงกดดันของเราในประเด็นเหล่านี้ไม่อาจยุ่งเกี่ยวกับวิกฤตเศรษฐกิจโลก วิกฤตภาวะโลกร้อนและวิกฤตด้านความมั่นคง" คลินตันบอกกับผู้สื่อข่าวในกรุงโซล ก่อนออกเดินทางต่อไปยังจีน(http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9520000019957)


แปลความหมายอีกทีก็คือ เมื่อก่อน ประเด็นสิทธิมนุษยชนยุ่งเกี่ยวกับวิกฤตเศรษฐกิจโลก วิกฤตภาวะโลกร้อนและวิกฤตด้านความมั่นคง นั่นเอง



ประเด็นท้าทาย "ต่อมจริยธรรม" ของเหล่าปัญญาชนกำลังเดินมาสู่ช่วงของการพิสูจน์ "ของแท้-ของเทียม" เพราะ การสะสมทุนเครดิตทางสังคม กับภาคประชาชนของกลุ่มปัญญาชนเหล่านี้ไม่ต่างอะไรกับนักเลือกตั้ง ที่หวังความนิยมทางการเมืองโดยหว่านเงินไปกับนโยบายประชานิยม



ในทางรัฐศาสตร์แล้ว "ระบอบคณาธิปไตย" ไม่ว่าโดยคณะปัญญาชนหรือกลุ่มคณะอภิสิทธิชน ล้วน สามานย์ และเป็นปฏิปักษ์ต่อเสรีภาพขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ทั้งสิ้น



เพราะพื้นฐานของระบอบนี้คือ มองประชาชนโง่ จำเป็นต้องผูกขาดการนำโดยกลุ่มชนชั้นที่อ้างว่าเหนือกว่า


"วิญญูชนจอมปลอม" เป็นสิ่งที่ "ชอลิ้วเฮียง" รังเกียจที่สุด และงานนี้ ก็ไม่จำเป็นต้องอาศัยใครกระชากหน้ากาก เหตุเกิดเพราะสนิมในตนโดยแท้

14 กุมภาพันธ์ 2552

เมื่อ "กูรู" นักพูด "สอบตก"




นายประสาร มฤคพิทักษ์ มีรหัสความเป็นศิษย์เก่าสวนกุหลาย OSK81 เป็นอดีตนักเคลื่อนไหว มาตั้งแต่สมัยเป็นนักศึกษารั้วจามจุรี มีชื่อติดกลุ่มคนที่มักเรียกขานกันว่า "คนเดือนตุลาฯ" (อดีตเคยเป็นคำแบ่งกลุ่มคนที่เชื่อว่ามีอุดมการณ์แต่ปัจจุบันคลายความขลังของนิยามไปเยอะ) สมัยเป็นนักศึกษา มีดีทั้งวาทะศิลป์และวรรณศิลป์ เป็นเจ้าของนามปากกา "นายฉันท์แก่น" ต่อมาเอาดีทำธุรกิจ สอนพูด เป็นประธานกรรมการบริษัทชีวิตธุรกิจ จำกัด ยกฐานะตนเองเป็นกูรู ประเภท "How To"


Maslow บอกว่า มนุษย์เมื่อบรรลุปัจจัยสี่ ความต้องการหลังจากนั้นคือ Social Status ชีวิตประสารเมื่อกินอิ่มนอนหลับ ไม่เจ็บไม่ไข้ ก็เลยเดินเข้าหา Need ในอีกระดับชั้นตามแนวคิดของ Maslow แต่ช่วงจังหวะที่ทำให้ประสารเข้าสู่ศูนย์กลางอำนาจรัฐ เป็น สว.สรรหา ในปัจจุบัน ก็คือ การเข้าไปรับใช้รัฐบาลทหาร หลังการปฏิวัติ ของ คมช.โดยรับหน้าเป็น ประธานคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ในประเทศ (ศปชท.) ทำงานเชิงรุกเพื่อแย่งพื้นที่สื่อ ต้านการหวนกลับคืนมาของระบอบทักษิณ



สว.สรรหา หลายคนในตำแหน่งปัจจุบัน ต้องยอมรับว่า มีสายสัมพันธ์ที่ดีกับเครือข่ายอำนาจ คมช. ไม่เช่นนั้นไม่สามารถฝ่าปราการของคนหลายคนที่เสนอตัวแต่ต้องรับประทาน "แห้ว"


ประสาร จึงไม่อำพรางตนเองในการขึ้นเวทีพันธมิตรฯ


ไม่อำพรางตัวที่จะอิงกับระบอบอำมาตยาธิปไตย ดังนั้นประสารเองก็น่าจะเป็นเหมือนหลายๆคน ที่ทำให้คนรุ่นหลัง สับสน กับ ความหมายของคนเดือนตุลา ว่า ตกลงเอาเข้าจริง มันขลัง มันมีองค์ความรู้หนุนหลังอยู่สักกระพีกหรือไม่


ประสารเคยไปอบรมการพูดให้กับนักปกครองฟังเวทีหนึ่ง ข้อมูลนี้ค้นหาได้เป็นการทั่วไปทางอินเตอร์เน็ต แต่เมื่อเอาหลักวิชาการมาจับกับโลกความเป็นจริง วิญญูชนก็ตัดสินใจกันเอาเองว่า จะเชื่อหรือไม่เชื่อ


ประสาร บอกว่า " การพูดมี 3 แบบ ดังนี้คือ
1. บอกเล่าหรือบรรยาย(Descriptive speech) คือ การพูดเหมือนครูอาจารย์ในโรงเรียน หรือ ในมหาวิทยาลัยที่คุณเรียนมา ประสบการณ์ที่คุณผ่านมาทุกคน คุณนึกออกไหมที่มีครูอาจารย์ที่สอนหนังสือคุณ ทำให้ไม่มีการจูงใจ ไม่สนุก
2. จูงใจ หรือชักชวน (Persuasive speech) เป็นการพูดที่นักการเมืองเป็นผู้ใช้ เช่น อบต. สส. สว. สท. เพื่อให้ถูกเลือกตั้งเข้าไปทำหน้าที่ สส. สว. อะไรก็แล้วแต่
3. บันเทิง(Recreative speech) หมายถึง บรรดานักแสดง ตัวตลก เช่น ตระกูลเชิญยิ้ม นักพูดหลายคนสามารถพูดได้ เช่น สภาโจ๊ก ที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ ITV


การพูดทั้ง 3แบบเหล่านี้จะทำให้เราพูดประสบผลสำเร็จหากนักพูดคนใด ขาดข้อใดข้อหนึ่งจะทำให้น่าเบื่อ พูดได้ 15 นาที ก็ชวนหลับเสียแล้ว เช่น อาจารย์ผู้สอนนักเรียนหากไม่มีการพูดแบบจูงใจเอาแต่บอกเล่าอย่างเดียว นักเรียนหลับ แสดงว่า ผู้พูดเป็นผู้กำหนดพฤติกรรมของผู้ฟัง ผู้พูดเฉื่อยเนื่อยผู้ฟังก็เฉื่อยเนื่อย ผู้พูดเหี่ยวเฉา ผู้ฟังก็เหี่ยวเฉาไปด้วย ผู้พูดกระตือรือร้น ผู้ฟังก็กระตือรือร้นไปด้วย
การพูดมี 4 วิธี ดังนี้
1 ท่องจำมาพูด (Memorized speech)
2. อ่านร่างหรือต้นฉบับ (Reading the speech or Manuscripted)
3. พูดจากความเข้าใจหรือจดเฉพาะหัวข้อ (Extempo speech)
4. พูดอย่างกระทันหัน (Impromptu speech)"


วันก่อนประสาร ลุกขึ้นตั้งกระทู้ถาม นายกรัฐมนตรี โดยตั้งกระทู้เรื่อง "การเผชิญหน้าและผลกระทบต่อวิถีชีวิตชาวบางสะพานจากโครงการก่อสร้างโรงงานถลุงเหล็กของบริษัทในเครือสหวิริยา อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์" เข้าใจว่า ประสารเป็นหนึ่งในคณะกรรมาธิการซึ่ง รสนา โตสิตระกูล เป็นประธานลงพื้นที่อ.บางสะพาน เพื่อหาข้อมูลโครงการนี้เนื่องจากมีทั้งฝ่ายสนับสนุนและต่อต้าน อย่างไรก็ตาม เข้าใจว่า ประสานเลือกจุดยืนที่จะอยู่ฝ่ายคัดค้าน ไม่ว่าจะด้วยเหตุใดเหตุผลหนึ่งก็ตาม ดังนั้นประสาร จึงต้องทำหน้าที่เป็น "ปัญญาชนของชนชั้น" ค้านแบบหัวชนฝา


เรากล้าใช้คำ "ค้านแบบหัวชนฝา" เพราะการค้านแบบนี้คือ การปิดหูปิดตารับฟังข้อมูลจากกลุ่นคนตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง
เอาแค่เรื่องเล็กๆ การที่คณะกรรมาธิการของรสนา ซึ่งเชื่อว่า ตนเองรู้ลึก รู้จริงกับเรื่องนี้จึงต้องคัดค้านนั้น แค่การอัพข้อมูลขึ้นเว็ปไซด์ของตัวเอง ยังให้ข้อมูลผิดว่า เข้าไป "ตรวจสอบกรณีการก่อสร้างโรงไฟฟ้า"


แม้เราจะเข้าใจว่า โรงไฟฟ้าเป็นปีศาจในสายตา กลุ่มเอ็นจีโอ แต่มันก็ไม่สมควรเอา ปีศาจตนนี้มานำหน้า เพื่อหวังให้มันทำหน้าที่ สร้างความกลัวเพื่อดึงแนวร่วม ขยายมวลชนคัดค้านโครงการพัฒนาของรัฐอย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย
(ดูรายละเอียด : http://www.rosana.in.th/preview/th/news/index.php?newsid=10 )


เช่นเดียวกับประสาร ที่ใช้ Skill ความเป็นนักพูด เพื่อหวังจูงใจให้คนเชื่อ ก็เลือกที่จะหยิบข้อมูลเพียงด้านเดียวขึ้นมา อันเป็นการพูดในสิ่งที่ประสารเคยสอนว่า เป็น Persuasive speech

ประสาร เริ่มการพูดด้วยการบอกว่า เขาลงพื้นที่ เพื่อให้คนฟังเข้าใจว่า สิ่งที่เขาพูดมันผ่านกระบวนการเห็นของจริงมาแล้ว อันจะทำให้คนเชื่อว่า สิ่งที่เขาพูดต่อไปจะมีน้ำหนักมากขึ้น

ดังนั้น ประสาร จึงกล้าที่จะบอกว่า การเผชิญหน้า ของคนบางสะพานที่คัดค้านโครงการโรงถลุงเหล็กในนามกลุ่มอนุรักษ์ฯซึ่งใส่เสื้อเขียวนั้นเป็นคนพื้นที่ ขณะที่คนกลุ่มคัดค้าน ซึ่งใส่เสื้อแดงเป็นคนนอกพื้นที่

ประสาร กล้าที่จะพูดว่า คนกลุ่มอนุรักษ์ถูกทำร้าย "ตาย 1 เจ็บอีกหลายราย"

ภาษาวัยรุ่น เด็กแว้นท์ บอกว่า "ช่างกล้าเนอะ.."

ถ้าสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง ไม่ทำการบ้านมา ผู้คนก็จะเชื่อโดยสนิทใจว่า ทุนรังแกชาวบ้านอีกแล้ว อันเป็นพล็อตคลาสสิคพอๆกับละครหลังข่าว


สุเทพ ชี้แจงว่า คนตายที่ประสาร ระบุนั้น คือ นายรักศักดิ์ คงตระกูล ซึ่งเป็นกลุ่มคนสนับสนุนโครงการ ขณะที่คนยิงซึ่งอัยการสั่งฟ้องไปแล้วคือ นายบำรุง สุดสวาท ซึ่งเป็นฝ่ายคัดค้านโครงการ


ภาษาข่าวเรียกว่า อาการที่สุเทพชี้แจงว่า ให้ข้อมูล "สวนทันควัน" และเรียกอาการของประสาร ว่า "หน้าแหก"


เพราะประสารก็ยอมรับในเวลาต่อมาว่า คนตายที่ตนระบุเป็นฝ่ายสนับสนุนโครงการจริงๆ แต่ประสารก็ยังไหลลื่นต่อไปได้อีก โดยใช้ลีลาชั้นครูของความเป็นนักพูด ตั้งคำถามว่า "ทำไมกลุ่มคนเสื้อแดงต้องเอาศพไป ไม่ยอมให้เจ้าหน้าที่ตำรวจชันสูตร"


การทิ้งคำถามแบบให้ชวนตั้งข้อสงสัยนี้ สุเทพ ไม่ตอบ แน่นอนมวลชนฝ่ายประสารก็คงเชื่อไปตามระเบียบโรงเรียนคนเดือนตุลาฯ ว่า

"ใช่ๆ ไอ้พวกเสื้อแดงมันต้องการทำลายหลักฐาน ป้ายความผิดให้คนของพวกเรา"


แต่ถ้าคนที่ไม่ใช่มวลชนของประสาร แต่เป็นเพื่อนร่วมงานของรักศักดิ์ เขาก็คงมีคำตอบเป็นคำถามว่า

"ก็เพื่อนกูถูกยิง หายใจพะงาบๆ มึงไม่เอาส่งโรงพยาบาล แล้วมึงจะให้กูทำอะไรว่ะ"


ถ้าให้คะแนน ความเป็น "กูรู" นักพูดของประสารในครั้งนี้น่าจะเรียกได้ว่า "สอบตก" เพราะสิ่งที่เขาเคยสอนว่า "การพูดทั้ง 3แบบเหล่านี้จะทำให้เราพูดประสบผลสำเร็จหากนักพูดคนใด ขาดข้อใดข้อหนึ่งจะทำให้น่าเบื่อ พูดได้ 15 นาที ก็ชวนหลับเสียแล้ว เช่น อาจารย์ผู้สอนนักเรียนหากไม่มีการพูดแบบจูงใจเอาแต่บอกเล่าอย่างเดียว นักเรียนหลับ แสดงว่า ผู้พูดเป็นผู้กำหนดพฤติกรรมของผู้ฟัง ผู้พูดเฉื่อยเนื่อยผู้ฟังก็เฉื่อยเนื่อย ผู้พูดเหี่ยวเฉา ผู้ฟังก็เหี่ยวเฉาไปด้วย ผู้พูดกระตือรือร้น ผู้ฟังก็กระตือรือร้นไปด้วย"นั้น จะเห็นได้ว่า น.ส. ทัศนา บุญทอง รองประธานวุฒิสภา คนที่ 2 ซึ่งทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมต้องตัดบทการพูดของประสารในช่วงขณะหนึ่งที่ประสารเริ่มไหลไปเรื่อยว่า "ท่านประสารค่ะ ท่านมีอะไรจะถามต่อไหม"
แปลเป็นไทยอีกทีก็คือ ประธานประชุมสอน กูรูนักพูด "ให้พูดเข้าประเด็น" สักที


ประเด็นน่าสนใจกว่านั้น ก็คือ การถามและตอบกระทู้ครั้งนี้ สุเทพ อดีตกำนันบ้านนอก ไม่ได้เล่าเรียนสูง ไม่ได้เป็นปัญญาชน ไม่ได้เข้าป่า ไม่ได้เป็นคนเดือนตุลา กลับมีระบบคิดที่น่าคิดว่า "เราจะทำยังไงไม่ให้คนสนับสนุนและคัดค้านปะทะกัน ต้องให้เขาสู้กันในกรอบของกฏหมาย"
เราไม่รู้ว่า อดีตคนเดือนตุลาฯ อย่างประสาร คิดยังไง แต่ถ้าพิจารณาจาก "ชีวทัศน์" ของประสาร ในช่วงหลังๆ ที่ยอมทำงานให้ คมช. อีกทั้งมีบทบาทสูงในการขึ้นเวทีพันธมิตรไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของคน 19 ล้านเสียงทั่วประเทศ และเป็น สว.สรรหา ซึ่งเป็นผลพ่วงของรัฐธรรมนูญ ที่ร่างโดยกลุ่มคนที่ใช้รถถังล้มกระดานประชาธิปไตยนั้น
วิญญูชนก็พิจารณาด้วยใจที่เสมอด้วยความสงบนิ่งประหนึ่งน้ำในบ่อหินกันเอาเองเถิด