19 พฤษภาคม 2552


“หาญณรงค์ เยาวเลิศ”
มหาสมุทรสุดลึก หยั่งได้
แต่ใจคนยิ่งกว่า


“หาญณรงค์ เยาวเลิศ”หรือ พี่หาญ ของเพื่อนพ้องน้องพี่เอ็นจีโอ รับรู้กันว่า พี่หาญ เป็นเอ็นจีโอ มาตลอดชีวิตการทำงาน ประวัติของพี่หาญ ที่แจ้งต่อสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สป. ก็คือประสบการณ์ทำงานในฐานะเอ็นจีโอ ที่จับเรื่อง “ฐานทรัพยากร”
(ดูรายละเอียด: http://www2.nesac.go.th/nesac/th/about/members_detail.php?did=06100078)
ดังนั้นการได้เข้ามาเป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯของหาญณรงค์ก็น่าจะมาจากการอุ้มชู ผลักดันของเพื่อนพ้องน้องพี่ในเครือข่ายเอ็นจีโออย่างปฏิเสธไม่ได้
เครือข่ายพี่น้องที่เคยแสดงพลังช่วยเขาเมื่อคราวมีปัญหากับ พิสิษฐ์ ณ พัทลุง สมัยทำงานอยู่มูลนิธิสัตว์ป่าและพันธ์พืช
ในการต่อสู้บนหน้าสื่อ พิสิษฐ์ อาจตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ โดยเฉพาะการโจมตีเรื่องที่พิสิษฐ์ เปิดร้านอาหารแล้วมีสวนสัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหารตา (ดูรายละเอียด:
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=78335)
ภาพที่ปรากฏต่อหน้าสื่อดูราวพิสิษฐ์เอาสัตว์ป่ามากักขังสนองตัณหาวิปริตของคนเมือง แต่ถ้าไปดูในเวปไซด์ของร้านอาหารดังกล่าวก็เป็นอีกเรื่อง(ดูรายละเอียด:
http://www.deratchan.com/)
กระนั้นก็ตาม ข้อมูลที่เปิดจากปากของพิสิษฐ์ถึงปมที่จะต้องวิวาทะกับหาญณรงค์และ สุรพล ดวงแข
"ตอนที่ผมเป็นเลขาธิการครั้งสุดท้าย มอบงานให้คุณสุรพลไปมีอยู่ประมาณ 22 ล้าน แต่พอถึงวันนี้เงินแค่ 1 ล้านบาท พอจะจ่ายเงินเดือนให้พนักงานได้แค่ 3 เดือนเท่านั้น อีก 3 เดือนข้างหน้าจะไม่มีเงินจ่ายแล้ว ผมในฐานะประธานจึงต้องแก้ปัญหาให้เร็วที่สุด ให้องค์กรอยู่รอด สิ่งแรกที่จำเป็นต้องทำโดยทันที คือการเปลี่ยนแปลงผู้มีอำนาจในการเซ็นเอกสารสั่งจ่ายเงินทางธนาคาร ส่วนมาตรการสุดท้ายจริงๆ ถ้าจะต้องขายทรัพย์สินขององค์กรบางส่วนก็ต้องยอม..”
และ
“ขอบอกว่า ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องคอร์รัปชั่น แต่เป็นการใช้เงินผิดประเภท คือการบริหารงานของเลขาธิการ และระบบบริหารการเงินไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของมูลนิธิ หลายโครงการไม่มีเงิน 15% เข้าสำนักงานกลาง และยังใช้ชื่อองค์กรหาผลประโยชน์ขอการสนับสนุนทางการเงิน แต่ดำเนินการภายใต้ความพอใจของหัวหน้าโครงการ โดยเลขาธิการไม่สามารถควบคุมและไม่บริหารบนหลักการที่ถูกต้อง ไม่มีวินัยในการใช้เงิน เช่นเรื่องของเงินสำรองจ่าย ไม่มีการเคลียร์คืน เป็นต้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนคนเป็นธรรมดา.."
ใครจะบอกว่า กระบวนการได้มาซึ่งสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯไม่มีการ “ล็อบบี้” นั้น บอกตามตรงว่า “ตีให้ตายก็ไม่เชื่อ”
“โอ้ ลาภ ยศ สรรเสริญ เมื่อเข้าไปหลงติด มันชั่งปิดทางนิพพานปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง” คือ คำสอนของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ
เชื่อว่า หาญณรงค์ก็อยากจะนั่งเก้าอี้ สมาชิกสภาที่ปรึกษาฯเป็นสมัยที่สอง
แน่นอนว่า การจะได้นั่งเก้าอี้นี้มันต้องมีกระบวนการลงแรง ลงแขก เหมือนนักการเมืองเวลาจะลงเลือกตั้งนั่นแหละ
ใครจะบอกว่า ตัวเองได้มาด้วยเสียงบริสุทธิ์ ตีให้ตายก็ไม่เชื่ออีกนั้นแหละ
เพราะสภาที่ปรึกษาฯนั้น “ล็อบบี้ –ช่วงชิง” กันมาตั้งแต่การเริ่มก่อตั้งองค์กร ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของฝ่ายเจ้าหน้าที่ซึ่งโอนกันมาจากสภาพัฒน์ฯที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ทำหน้าที่เลขานุการ รวมถึงตัวคนที่เข้ามาเป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ
เพียงแต่ในช่วงแรกมี “อานันท์ ปันยารชุน” นั่งสร้างบารมีให้อยู่สองสมัย ต้นทุนทางสังคมของผู้ดีรัตนโกสินทร์ก็เลยทำให้หลายคนไม่กล้าแตะ แม้ผลงานของสภาที่ปรึกษาฯจะไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน
รัฐธรรมนูญปี ๔๐ นั้นออกแบบมามีกลไกสอดรับกันและกัน แต่วันนี้รัฐธรรมนูญ ๔๐ โดยฉีกทิ้ง สภาที่ปรึกษาฯก็อยู่เป็นองค์กรกินภาษีชาวบ้านต่อไป แม้ภารกิจจะซ้ำซ้อนกับอีกหลายหน่วยงานและผลงานจับต้องเอาไปใช้ไม่ได้
อย่าลืมว่า เจตนารมณ์แต่เริ่มแรกคือ สภาที่ปรึกษาฯเป็นเหมือนผิวหนังสะท้อนความรู้สึกของสังคมขึ้นไปยังฝ่ายการกำหนดนโยบายรัฐ แต่รัฐธรรมนูญก็ไม่ได้กำหนดบังคับว่ารัฐบาลจะต้องทำตาม มันเป็นกลไกที่กำหนดไว้ถ่วงดุลการเมืองแบบพรรคเดียว
แต่วันนี้การเมืองแบบพรรคเดียวคนก็ไม่เอาแล้ว สภาที่ปรึกษาฯจะมีอยู่ไปทำไมมีก็ไม่รู้ได้
ใครจะอ้างว่า สป.ไม่มีเงินเดือน แต่เบี้ยประชุม งบในการศึกษาก็ล้วนมาจากภาษีประชาชนทั้งสิ้น ซึ่งส่วนใหญ่คนที่ใช้ก็มักเป็นคนจากสายเอ็นจีโอ นี่ยังไม่นับรวมต้นทุนจากหน่วยงานต่างๆที่จะต้องมาคอยอำนวยความสะดวกให้อีกไม่รู้เท่าไหร่
ความจริงเอ็นจีโอที่มีระบบคิดเอียงซ้ายแบบหาญณรงค์น่าจะปฏิเสธ “ระบบ” แล้วลงมาทำงานในเชิงการเมืองภาคประชาชนจะดูสง่างามกว่า
ยอมอดอย่างเสือ ดีกว่า มารับเบี้ยประชุมเล็กๆน้อยๆ ในองค์กรที่มีอยู่ก็เปลืองภาษีประชาชน
ยอมอดอย่าเสือดีกว่าอยู่ในองค์กรใหญ่ นั่งทำงานให้ห้องแอร์ แล้วให้ผู้คนตั้งคำถามว่า “หน้าที่การงานดี ร่ำรวยแล้วแต่ทำไมทำบุญแค่ร้อยเดียว” (ดูรายละเอียด:
http://www.skyd.org/html/activity/boon48_donate.html)

หาญณรงค์อาจตอบกลับ ทำบุญขึ้นอยู่กับศรัทธา นั่นก็ย่อมเป็นสิทธิ แต่หากคนจะมองในอีกมุมตรงข้ามก็ย่อมเป็นสิทธิเช่นเดียวกัน
ในยุค ที่สังคม ตีค่าคน ที่ ความเด่น ความดัง มันทำให้เกิด Hero ได้ง่าย เป็น ประมาณ Accidental hero เหมือนที่ยุคหนึ่ง “สมพงษ์ เลือดทหาร” สร้างบทเรียนให้สังคมไทย จนหน้าแหกกันไปเป็นแถว แต่ไม่นานคนไทยก็ลืมบทเรียนนี้
สังคมที่เห่อกับกระแส ดี เด่น ดัง แบบไม่ลืมหูลืมตาเลยตกเป็นเหยื่อของไฮโซอยากดัง รวมถึงเอ็นจีโออยากไต่เต้า
หาญณรงค์ วันนี้ออกมาประโคมข่าวสร้างกระแสกับการผลักดันพื้นที่ชุ่มน้ำประมาณว่าอยากจะสร้างผลงานให้เข้าตากรรมการ
หาญณรงค์รู้ว่า แม้แต่ประเทศพัฒนาอุตสาหกรรมไม่ว่าจะจีน ญี่ปุ่น เกาเหลี ก็มีการประกาศพื้นที่ชุ่มน้ำ แต่เขาก็ไม่ยอมพูดประเด็นนี้
แต่กลับเอาประเด็นเรื่องพื้นที่ชุ่มน้ำเข้าสู่ วิวาทะการพัฒนา ซึ่งมีทางออกเดียวคือ เมื่อมีพื้นที่ชุ่มน้ำก็ไม่เอาการพัฒนา เหมือนเขารู้ว่า ประเด็นความขัดแย้งย่อมเป็นข่าว
หาญณรงค์รู้ดีว่า พื้นที่ชุ่มน้ำนั้นต้องขอการมีส่วนร่วมจากชาวบ้านแบบไม่เลือกสีเลือกข้างแต่เขาก็เลือกจะฟังแต่คนที่อยู่สีเขียว
หาญณรงค์รู้ดีกว่า การประกาศพื้นที่ชุ่มน้ำยังมีหลายขั้นตอน มีหลายทางเลือก และบางทางเลือกก็เป็นการรวมพื้นที่ซึ่งมีการพัฒนาอุตสาหกรรมเข้าไปด้วย แต่เขาก็ประโคมข่าวเหมือนกับข่าวจะประกาศวันนี้พรุ่งนี้โดยไม่ฟังเสียงคนค้าน และเป็นการสื่อสารต่อสาธารณะในลักษณะ เมื่อมีพื้นที่ชุ่มน้ำก็ไม่เอาการพัฒนาอุตสาหกรรม
เราไม่รู้ว่า ทำไม เขาจึงปรากฏเป็นข่าวมากนักในช่วงนี้ แต่เมื่อมาดูวาระตำแหน่งการเป็น สป.ก็ถึงบางอ้อว่า กำลังอยู่ในเทศกาลสรรหา สป.ชุดใหม่
ซึ่งตามกฎหมาย สป.สามารถดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิดสองครั้งติดต่อกัน
มองหาญณรงค์แล้วนึกถึงคำหนึ่งว่า “จะมีไหม ใครสักคนที่ทำงานโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน”
นั่งคิดอยู่นาน หาทางออกไม่เจอ
“ห่วย...จังซี๊...มันต้องถอน....”

ไม่มีความคิดเห็น: