21 กุมภาพันธ์ 2552

สนิมเกิดจากเนื้อในตน





ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัย คณะกรรมการสิทธิฯ ชุด “เสน่ห์ จามริก” พ้นจากตำแหน่งแล้ว" พาดหัวข่าวนี้ตีพิมพ์ในมติชนก่อนนำมาเสนอซ้ำในเว็ปประชาไท (ดูรายละเอียด http://www.prachatai.com/05web/th/home/15628 )สาระใหญ่ใจความคือ คณะกรรมการสิทธิชุด เสน่ห์ หมดวาระไปแล้ว แต่กลับยังนั่งกินตำแหน่งโดยอาศัยช่องทางกฏหมาย


ข่าวนี้ยอมรับว่า สร้างความรู้สึก Shock พอๆกับข่าว เอ็นจีโอด้านสิทธิมนุษยนชนอึ้งกับท่าทีของนางคลินตันกรณีความสัมพันธ์กับจีน (http://news.yahoo.com/s/afp/20090220/pl_afp/usdiplomacyasiachinarights)



ที่ว่าอึ้งเพราะ เสน่ห์ จามริก คือ ปูชนียบุคคล ที่น่าเคารพนับถือ รวมถึงบรรดากรรมการท่านอื่นๆ
ที่ว่าอึ้งก็เพราะ ทำไม บรรดาปูชนียบุคคลเหล่านี้ จึงหลงใหลกับเก้าอี้เหล่านี้


มันมีอะไรหอมหวานถึงขนาดเอาเกียรติภูมิที่สั่งสมมาชั่วชีวิตเข้าแลก


"ความไม่ชอบธรรม" ในกระบวนการได้มาซึ่งตำแหน่ง นี้ มันก่อให้เกิดวิกฤติศรัทธาอย่างช่วยไม่ได้ว่า แล้วสิ่งที่ กสม. คิด ทำ มันเป็นไปเพื่ออะไร มีมาตราฐานแค่ไหน


มันไม่แแปลกหากจะมีใครกล้าถามทะลุกลางปล้องว่า ใช่หรือไม่ว่า สิ่งที่กสม.ทำก็เพียงเพื่อสนับสนุนฐานเก้าอี้ที่
ไม่มีความชอบธรรม ตามภาษานักเคลื่อนไหวว่า "เอาประชาชนเป็นโล่ห์มนุษย์" ?




นางสุนี ไชยรส หนึ่งใน กสม. ที่มีปัญหาเรื่องสถานะภาพตามคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุด เคยช่วยเหลืออย่างมุ่งมั่นกับการรุกที่สาธารณะของ จินตนา แก้วขาว ให้สามารถเช่าที่ได้อย่างถูกต้องโดยอ้างเรื่องของ การแก้ปัญหาที่ดินทำกินของคนยากคนจน



ถามว่า จินตนา ยากจน จริงหรือ ? แล้วทำไมต้องเป็นที่ติดริมทะเล



เห็นข่าวเรื่องนี้ทีไรก็นึกถึง สปก.๔-๐๑ ที่เศรษฐีเข้าแถวรับเอกสารสิทธิไม่ได้


โชคยังดีที่การทำประชาคมหมู่บ้านไม่อนุมัติไม่เช่นนั้น การรุกที่โดยกลุ่มคนอยากจนก็คงระบาดหนัก




วันนี้ เราจะเชื่อได้อย่างไรว่า สิ่งที่ดำเนินการไม่มี Agenda เช่น ล่าสุดการจัดอันดับสิทธิมนุษยชนปี 51ด้วยการใช้มาตราฐานของ กสม. ชี้ความก้าวหน้า-ถดถอย ของประเด็นสิทธิมนุษยชน(http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01p0131190252&sectionid=0101&day=2009-02-19)


เราจะเชื่อได้อย่างไรว่า กสม.ระดับท้องถิ่น จะไม่มี Agenda เพราะขนาด กสม.ระดับอินเตอร์ก็ถูกเผย Agenda จากปากของนางคลินตันเองว่า ประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นเรือปืนนำร่องเรือหลวงคือระบบทุนในทัศนะของตะวันตก นั่นก็คือ ทุนที่ตะวันตกเป็น "เจ้าผู้ครอบครอง"" แต่แรงกดดันของเราในประเด็นเหล่านี้ไม่อาจยุ่งเกี่ยวกับวิกฤตเศรษฐกิจโลก วิกฤตภาวะโลกร้อนและวิกฤตด้านความมั่นคง" คลินตันบอกกับผู้สื่อข่าวในกรุงโซล ก่อนออกเดินทางต่อไปยังจีน(http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9520000019957)


แปลความหมายอีกทีก็คือ เมื่อก่อน ประเด็นสิทธิมนุษยชนยุ่งเกี่ยวกับวิกฤตเศรษฐกิจโลก วิกฤตภาวะโลกร้อนและวิกฤตด้านความมั่นคง นั่นเอง



ประเด็นท้าทาย "ต่อมจริยธรรม" ของเหล่าปัญญาชนกำลังเดินมาสู่ช่วงของการพิสูจน์ "ของแท้-ของเทียม" เพราะ การสะสมทุนเครดิตทางสังคม กับภาคประชาชนของกลุ่มปัญญาชนเหล่านี้ไม่ต่างอะไรกับนักเลือกตั้ง ที่หวังความนิยมทางการเมืองโดยหว่านเงินไปกับนโยบายประชานิยม



ในทางรัฐศาสตร์แล้ว "ระบอบคณาธิปไตย" ไม่ว่าโดยคณะปัญญาชนหรือกลุ่มคณะอภิสิทธิชน ล้วน สามานย์ และเป็นปฏิปักษ์ต่อเสรีภาพขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ทั้งสิ้น



เพราะพื้นฐานของระบอบนี้คือ มองประชาชนโง่ จำเป็นต้องผูกขาดการนำโดยกลุ่มชนชั้นที่อ้างว่าเหนือกว่า


"วิญญูชนจอมปลอม" เป็นสิ่งที่ "ชอลิ้วเฮียง" รังเกียจที่สุด และงานนี้ ก็ไม่จำเป็นต้องอาศัยใครกระชากหน้ากาก เหตุเกิดเพราะสนิมในตนโดยแท้

ไม่มีความคิดเห็น: