25 มกราคม 2552

ความจริงที่ "นสพ.ข่าวสด" ยังไม่เสนอ

นสพ.ข่าวสด ซึ่งมี "จุดขาย" ในการนำเสนอข่าวด้านสิ่งแวดล้อม ในลักษณะฟังความข้างประชาชน แม้บางครั้งอาจถูกมองว่า เป็นการมองอย่างไม่ครบถ้วนในแง่มุม แต่มันก็เป็นจุดขายของหนังสือพิมพ์หัวสีค่ายประชาชื่น




ในทางข้อเท็จจริง คำถามที่ไม่ต้องตอบ ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่า นักข่าวสิ่งแวดล้อม จะให้นำเสนอข่าวเชียร์การพัฒนามันก็เป็นไปไม่ได้



ข้อสังเกตุประการหนึ่งก็คือ ในสำนักข่าวเดียวกันแทบจะทุกสำนัก "โต๊ะข่าวสิ่งแวดล้อม" กับ "โต๊ะข่าวเศรษฐกิจ" มักจะไม่กินเส้นกันเป็นส่วนใหญ่




ล่าสุด "ข่าวสด" ฉบับวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 18 ฉบับที่ 6632 นำเสนอสกู๊ปเด่นเรื่อง "ทำนาหาเสบียง ต่อสู้โรงถลุงเหล็ก" เนื้อหาคือ การให้รายละเอียดกิจกรรมเคลื่อนไหวของชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ที่ใช้พื้นที่นาร้างปลูกข้าวเพื่อเป็นเสบียงในการต่อสู้กับโครงการโรงถลุงเหล็ก อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเข้าใจว่าเป็น "ศึกยืดเยื้อ" (อ่านฉบับเต็มได้ จาก http://www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROb1lYQXdNVEkxTURFMU1nPT0=&sectionid=TURNeE53PT0=&day=TWpBd09TMHdNUzB5T)
แน่นอนว่า เนื้อหาในการนำเสนอก็ย่อมเป็นจุดยืน หรือมุมมองที่มองกิจกรรมนี้ในเชิง โรแมนติก



"...ชาวบ้านกรูด และแม่รำพึง ต้องการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง มีงานสุจริตทำ มีอาหารสะอาดกิน แม้ไม่รวยล้นฟ้า แต่ก็มีความสุข และยืนยันในเจตนารมณ์นี้ ดีกว่ายอมให้แผ่นดินบ้านเกิด ตกเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมที่ก่อมลพิษในอนาคต..." ความตอนหนึ่งของสกู๊ประบุ



ความจริง "ข่าวสด" เป็น นสพ.ไม่กี่ฉบับที่กล้า สอบทาน "แนวคิด -แนวทาง" ของ "กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย"(พธม.) น่าจะเข้าใจได้ดีกว่า การพูดความจริงเพียงเศษเสี้ยว หรือ การพูดความจริงไม่หมด การแบ่งแยกกลุ่ม ชนชั้น ขยายภาพว่า "ทุน" กับ "ชุมชน" เป็นปฏิปักษ์ต่อกันนั้น เป็นอันตรายอย่างยิ่ง



แม้เราจะรู้ดีกว่า เสียงของชาวบ้าน เสียงของคนตัวเล็ก จำเป็นต้องเอามาขยายผล แต่ "ข่าวสด" น่าจะเรียนรู้ได้ดีว่า ผลข้างเคียงของการ "ให้ท้าย" ทำลายอะไรหลายอย่างๆที่บางทีคาดไม่ถึง



"ข่าวสด" น่าจะรู้ดีว่า การทำนาปลูกข้าวเป็นเพียงกิจกรรมที่เล่นกับสื่อ หวังเรียกร้องความสนใจจากสื่อและสร้างภาพลักษณ์ให้กับกลุ่มอนุรักษ์ฯ ไม่ต่างจากที่ พธม.เคยปลูกข้าวในทำเนียบ คราวนั้น สื่อทุกฉบับนำเสนอภาพการปลูกข้าวในทำเนียบเพราะเป็นประเด็นสีสัน โดยไม่ได้รู้เลยว่า นั้นคือการพยายามรักษาพื้นที่ข่าวตามหน้าสื่อที่ต้องคิดกิจกรรมกันตลอดเวลาไม่ให้ตกจากพื้นที่สื่อ





















ข่าวสด นำเสนอว่า "ชาวบ้านจึงรวมตัวกันเป็นกลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึง เพื่อต่อสู้ปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและวิถีชีวิตของพวกเขา หวั่นจะถูกทำลายหลังการเกิดขึ้นของอุตสาหกรรมเหล็ก การคัดค้านดำเนินมายาวนานตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 จวบจนปัจจุบันยังมีกลุ่มชาวบ้านแห่งบ้านกรูด ที่ผ่านการต่อสู้คัดค้านโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน จนโครงการนี้ต้องล้มพับพ้นจากพื้นที่บ้านกรูดไป มารวมผนึกกลับกับกลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึง"
ข่าวสดไม่รู้เลยหรือว่า การไม่สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินอันเป็นผลจากการคัดค้านของกลุ่มอนุรักษ์นั้น ทุกวันนี้โรงไฟฟ้าทั้งสองแห่งก็ได้ก่อสร้างแล้วเป็นที่เรียบร้อยที่ จ.ราชบุรี โรงหนึ่ง และที่ จ.สระบุรี อีกโรงหนึ่ง เพียงแต่ไปใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ
ภาษาชาวบ้านก็คือ "เตะหมูเข้าปากหมา"
กลุ่มพลังงานทางเลือก ที่คอยสนับสนุนกลุ่มอนุรักษ์นั้น ก็เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับ กรีนพีซ ที่ต้องการให้รัฐบาลไทย เปิดประตูให้ทุนพลังงานทางเลือกเข้ามาแชร์ส่วนแบ่งของตลาดพลังงาน (ดูราละเอียด http://www.greenpeace.org/seasia/th/campaigns/climate-and-energy) แม้หลายคนจะอิดหนาระอาใจกับวิธีการหาทุนของกรีนพีซที่จ้างเด็กตระเวณขอรับบริจาค
(http://www.zubzip.com/cheat/view.aspx?nid=841) แต่มันก็เป็นเรื่องของการทำมาหากิน
วันนี้รัฐบาลไทยยังไม่ดำเนินนโยบายตามการเคลื่อนไหวของเอ็นจีโอข้ามชาติ ดังนั้นกิจกรรมคัดค้านจึงมีต่อเนื่อง กรณีของโรงถลุงเหล็กที่บางสะพาน จึงมีวาระเรื่องการต่อต้านถ่านหินด้วยเพราะประเมินกันว่า โรงถลุงเหล็กจะดึงอุตสาหกรรมต่างๆเข้ามา
เรายังไม่รู้ว่า ถ้าทุน และรัฐ ตัดสินใจเอาไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือกเข้ามาใช้ในพื้นที่อุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันตก จะสลายขั้วม็อบค้านในส่วนที่ต่อต้านพลังงานจากฟอสซิลหรือไม่

ข่าวสด เสนอโดยอ้างคำสัมภาษณ์ของ นายพงษ์ศักดิ์ บุตรรัก รองประธานกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด ว่า "ที่เลือกทำนา เพราะที่ดินเดิมทำนาได้ผลดี และเห็นว่าแขกไปใครมา หรือชาวบ้านที่ผลัดเวรยามเฝ้าระวังในจุดต่างๆ ไม่ให้นายทุนเข้ามารุกที่ ก็ต้องกินข้าว เมื่อข้าวเป็นอาหารหลักของคนที่นี่ การปลูกข้าวจึงน่าจะได้ประโยชน์มากที่สุด" นายพงษ์ศักดิ์ กล่าว
ข่าวสด เองไม่สงสัยหรือว่า ถ้าที่ตรงนี้ทำนาได้ผลดี ทำไมจึงปล่อยทิ้งร้าง
ข่าวสด ไม่รู้เลยหรือว่า เดิมพื้นที่อ.บางสะพาน มี "นาข้าว"อยู่มากกว่าที่เห็น แต่เพราะชาวบ้าน เกษตรกรหันไปเห่อปลูกมะพร้าว เบื่อกับชีวิตชาวนาที่ต้องต่อสู้กับเรื่อฝนฟ้า ค่ายาค่าปุ๋ย ล่าสุดพื้นที่ถูกแย่งชิงเพราะความเห่อในการปลูกปาล์ม นั่นจึงทำให้การทำนาข้าวหายไปจากพื้นที่
แน่นอนล่ะว่า "ฝนไม่ตก แดดไม่ออก ขี้ไม่สุด เยี่ยวไม่สะเด็ดน้ำ โทษทุน โทษอุตสาหกรรม โทษรัฐ" มันก็ต้องถูกวันยังค่ำ เหมือนทุกวันนี้ "อะไรไม่ดี โทษทักษิณ" ไว้ก่อน รับรองปลอดภัยหายห่วง
ข่าวสดนำเสนอ คำสัมภาษณ์ของ นางจินตนา แก้วขาว ประธานกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด ว่า ""ข้าวที่ได้จะจัดสรรออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกนำไปเป็นวัตถุดิบหุงกินสำหรับกลุ่มชาวบ้านที่ผลัดเฝ้าเวรยามบริเวณป่าพรุ พื้นที่ชุ่มน้ำ เพราะถูกลักลอบจากนายทุนเผาป่าเป็นระยะ ส่วนที่ 2 นำไปเป็นเครื่องยังชีพสำหรับชาวบ้านที่เป็นเวรยามเฝ้าที่สาธารณะ ที่กลุ่มนายทุนมักสบโอกาสนำดินมาถม เพื่อกั้นเป็นกำแพง ส่วนสุดท้ายนำไปเก็บไว้หุงกินสำหรับชาวบ้านที่ทำศูนย์วิทยุชุมชน ซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งในการต่อสู้ของชาวบ้าน สามารถแจ้งข่าวสาร และทำความเข้าใจให้กับชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่รัศมี 30 กิโลเมตร" เนื้อหาสะท้อนให้เห็นว่า การจัดการมวลชนของกลุ่มอนุรักษ์เป็นไปอย่างมีระบบ มีการจัดตั้ง "การ์ด" เหมือนกับ "การ์ดพันธมิตร"
ภาพของการ์ดพันธมิตรเป็นอย่างไร คงไม่ต้องบรรยายต่อกระมัง !!!
รายงานนี้ไม่ใช่การจับผิด แต่ต้องการนำเสนอข้อมูลอย่างรอบด้าน ให้คิดกันทุกแง่ แม้ชะตากรรมของคนที่พูดความจริง จะทำให้สำนักข่าวใต้ดินเผชิฐกับแรงต้านเหมือนที่ข่าวสดเคยโดยกรณีเหตุการณ์พันธมิตรฯ เราก็พร้อม

ไม่มีความคิดเห็น: