29 มกราคม 2552

"สุนทรียสนทนากับสุพจน์ ส่งเสียง"




เว็ปไซด์ประชา ไทย นำเสนอ บทความ "ระงับลงทุนโรงถลุงเหล็กบางสะพาน บทพิสูจน์ การพัฒนาที่ไม่ยั่งยืนแท้จริง" ( http://www.prachatai.com/05web/th/home/15372)


"สำนักข่าวใต้ดิน" จึงมองสุพจน์ ว่า เป็นคนที่พอจะแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กันได้ระดับหนึ่ง เพื่อให้สังคมได้ชั่งน้ำหนัก แล้วก็มีเสรีภาพในการตัดสินใจเลือก
บทความของสุพจน์พยายามอธิบายให้ข้อมูลด้านลบของการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กในพื้นที่อ.บางสะพาน โดยติดยึดกับ "วาทกรรมการพัฒนาที่ยั่งยืน"



"จากกรณีสื่อหลายฉบับลงข่าวการระงับการลงทุนโรงถลุงเหล็กที่บางสะพานของกลุ่มธุรกิจเหล็กในเครือสหวิริยานั้น ได้มีหลายฝ่ายออกมาแสดงความคิดเห็นในหลายๆ ด้าน และอีกด้านหนึ่งของกลุ่มผู้ที่คัดค้านโครงการก็ได้แสดงความคิดเห็นอีกมุมหนึ่งว่า มันคือการพิสูจน์ชัดได้หลายเรื่องในแง่การพัฒนาว่ายั่งยืนจริงเท็จประการใด"



ข้างต้นคือ ประโยคที่สุพจน์จั่วหัวบทความ แต่ความหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนในหลักคิดของสุพจน์ มีปริมณฑลจำกัดแค่ เรื่องสิ่งแวดล้อมและชุมชน



การยกตัวอย่างประกอบการอธิบายสมมติฐานว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมเป็นอริกับการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้น ต้องยอมรับว่า ยังเป็นไปอย่างสับสน
นิยามของการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นถูกบัญญัติขึ้นโดยฝรั่งตาน้ำขาว ซึ่งก็พูดไว้ชัดว่า "...Sustainable development is a pattern of resource use that aims to meet human needs while preserving the environment so that these needs can be met not only in the present, but in the indefinite future." ( อ่านนิยามเต็มได้ที่ ( http://en.wikipedia.org/wiki/Sustainable_development )



"การพัฒนาที่ยั่งยืน คือ รูปแบบของการใช้ทรัพยากรเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ซึ่งควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการไม่เฉพาะปัจจุบันแต่ยาวนานไปถึงอนาคต"



ในคำนิยามจะมี 3 องค์ประกอบเป็นวงกลมเกี่ยวรัดทับซ้อนกัน คือ สังคม สิ่งแวดล้อมและ เศรษฐกิจ



"Sustainable development does not focus solely on environmental issues" - ถ้าแปลเป็นไทยก็คือ การพัฒนาที่ยั่งยืนไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม


เป็นที่น่าสังเกตุว่า ความหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งถูกใช้ในแวดล้อมองค์กรพัฒนาเอกชน หรือโดยกลุ่มอนุรักษ์ อันหมายรวมถึง สุพจน์ นั้น ยังจำกัดแคบเฉพาะประเด็นเรื่องของสิ่งแวดล้อม แล้วก็มีการอ้างอิงข้อมูลเพื่อสนับสนุนสมมติฐานที่ค่อนข้างเป็นไปในสิ่งที่นักวิชาการเรียกว่า "Comparable with Uncomparable" คือ เปรียบเทียบสิ่งที่เปรียบเทียบกันไม่ได้

สุพจน์ บอก "ก่อนหน้านี้โครงการเหล็กที่บางสะพานเคยเข้ามาในพื้นที่ตั้งแต่ปี พ.ศ.2530 เป็นต้นมา โดยมีชาวบ้านในพื้นที่ออกมาคัดค้านแต่ไม่มากนักโดยคิดว่าเป็นโครงการโรงถลุงเหล็กมลพิษสูง แต่ในช่วงนั้นเองทางกลุ่มทุนก็ทำหนังสือชี้แจงว่าไม่ใช่โครงการโรงถลุง แต่เป็นเพียงโรงรีดเหล็กไม่มีมลพิษ จะไม่สร้างโรงถลุงแน่นอน และเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนเช่นกัน แต่มาวันนี้สิบกว่าปีกลับบอกว่าหากไม่มีโรงถลุงจะอยู่ไม่ได้ มีการปลดพนักงานช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ และลดเงินพนักงานจนเกิดการประท้วงทั้งสองโรงงานใหญ่ไม่กี่วันที่ผ่านมา ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นถึงความยั่งยืนลวงตา"


สุพจน์อ้างข้อมูลเมื่อกว่า 20 ปีที่แล้ว โดยละเลย ที่จะพูดถึงว่า ในเส้นทางระหว่าง 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศมีการเติบโตอย่างไร อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมอาหารกระป๋อง การแข่งขันทางการค้าในเวทีโลก สิ่งเหล่านี้เป็นเงื่อนไขที่อุตสาหกรรมเหล็กต้องมีการปรับตัวและพัฒนาเพื่อเสริมศักยาภาพของอุตสาหกรรมในประเทศ ซึ่งคำตอบก็คือ การมองว่า หากประเทศสามารถผลิตเหล็กต้นน้ำก็จะสามารถเสริมศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ ไม่จำเป็นต้องนำเข้ากันถึงปีละ 5 แสนล้านบาท อย่างในปัจจุบัน



สุพจน์ ระบุว่า " และที่สำคัญการสร้างภาพจูงใจเรื่องมีงานทำที่ดีนำไปสู่การศึกษาไปในเชิงเดียวคืออุตสาหกรรมเหล็ก โดยไม่คำนึงถึงสัดส่วนเป็นจริงในเรื่องของวิถีเดิมที่เป็นอาชีพหล่อเลี้ยงตัวอยู่ในท้องถิ่นที่ยั่งยืนแท้จริง ในด้านการท่องเที่ยว เกษตร ประมง ค้าขาย ต่างๆ"



ในประเด็นนี้ สุพจน์ละเลยที่จะบอก ข้อเท็จจริงอันเป็นความเจ็บช้ำล้มเหลวของระบบการศึกษาของประเทศนี้ว่า ก่อนที่จะมีอุตสาหกรรมในพื้นที่ คุณภาพนักศึกษา บัณฑิต ที่สถาบันการศึกษาผลิตได้นั้น อย่างมากก็เป็นแรงงานไร้ฝีมือ ทำให้ต้องมีการจ้างแรงงานจากนอกพื้นที่ ซึ่งก็ตอบโจทย์ไม่ได้ว่า ทำไมไม่สร้างงานให้คนในพื้นที่ ?
ดังนั้นการที่เอกชนเข้าไปสนับสนุนสถาบันการศึกษา ซึ่งในกรณีของบางสะพานคือ "วิทยาลัยการอาชีพบางสะพาน"
(http://www.bspc.ac.th/) ซึ่งมีการยกระดับเป็น "สถาบันเทคโนโลยีเหล็กและเหล็กกล้าบางสะพาน" ก็คือ การยกระดับศักยภาพคนในพื้นที่จากแรงงานไร้ฝีมือให้เป็นแรงงานฝีมือ เพื่อที่จะตอบโจทย์การสร้างงานให้กับคนในพื้นที่



ไม่ต่างจากที่บริษัทใหญ่ๆในประเทศนี้ทำกันเช่น โรงเรียนเทคโนโลยียานยนต์โตโยต้า (http://www.toyotaschool.ac.th/)
หรือ วิทยาลัยปิโตรเคมีของบริษัททีพีไอ(เดิม) วิทยาลัยไฟฟ้าของกฟผ.ที่จะสร้างที่แม่เมาะ ลำปาง เป็นต้น

และที่สำคัญหลักสูตรของ "สถาบันเทคโนโลยีเหล็กและเหล็กกล้าบางสะพาน"ก็ไม่ได้มีหลักสูตรเดียวแต่ยังมีทั้งช่างเชื่อม ช่างยนต์ เหมือนวิทยาลัยเทคนิคทั่วไป
สุพจน์ ต้องลองถามเพื่อนแกนนำอย่างจินตนา แก้วขาว ว่า ทำไมเธอถึงให้ลูกชายไปเรียนไกลถึงเพรชบุรี ทำไม จินตนา ไม่ให้ลูกเรียนด้านการท่องเที่ยว เกษตร หรือประมง และเพราะการต้องไปเรียนไกลหูไกลตาพ่อแม่ใช่หรือไม่ทำให้ลูกเธอต้องตกอยู่ในวังวนยาเสพติดโดนจับคดียาบ้า (http://www.komchadluek.net/2008/08/11/x_prv_n001_215675.php?news_id=215675)


สุพจน์ บอกว่า "ต้องทำความเข้าใจให้ดีคำว่ายังยืนไม่ได้หมายถึงความร่ำรวย มันต่างกัน หากคิดที่ปริมาณเม็ดเงินที่รัฐจะนำมาสนับสนุนโครงการดังกล่าวอย่างมหาศาลด้านสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น เขื่อน โรงไฟฟ้า ถนน ท่าเรือ ฯลฯ แต่สุดท้ายก็มีการจ้างงานเพียง่เป็นอาชีพหล่อเลี้ยงตัวอยู่ในท้องถิ่นที่ 3,000 กว่าอัตรา หากเอาจำนวนเม็ดเงินเดียวกันมาสนับสนุนตามศักยภาพของพื้นที่อย่างแท้จริงก็จะสามารถกระจายรายได้ทั่วถึง เกิดอาชีพที่เป็นไปตามกลไกธรรมชาติที่เป็นอยู่อย่างยั่งยืน"


ระบบคิดนี้ของสุพจน์ ละเลยที่จะมองภาพกว้างของประเทศ ว่า อุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำเป็นเรื่องของการเสริมสร้างศักยภาพประเทศ และคิดแบบตื้นเขินเกินไปและ "แยกส่วน" ที่จะให้เอาเงินจำนวนเท่ากันมาหว่านในพื้นที่เพื่อสร้างอาชีพเฉพาะของคนในพื้นที่


สุพจน์ ควรบอกให้ครบถ้วนว่า การท่องเที่ยว ที่บอกว่าเป็นศักยภาพนั้น มีชาวบ้านเจ้าของพื้นที่จริงๆกี่คน ใช่หรือไม่ว่า ส่วนใหญ่เจ้าของมักเป็นไฮโซ ไฮซ้อ จาก กรุงเทพฯ เช่นรีสอร์ตเปิดใหม่ที่บ้านกรูด ( http://www.keereewaree.com/) และ
(http://www.komchadluek.net/2008/08/06/x_lady_i001_214698.php?news_id=214698)


สุพจน์ควรบอกว่า ใครเป็นเจ้าของ และใช่หรือไม่ว่า คนในพื้นที่อย่างมากก็เป็นแม่บ้าน เด็กยกกระเป๋า
หรือศักยภาพในด้านเกษตร สุพจน์ ควรบอกต่อไปว่า การลงทุนรุกที่เพื่อปลูกปาล์ม ปลูกยาง ตามแต่ว่าสินค้าเกษตรตัวไหนจะราคาดีหรือไม่นั้นเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืนในความหมายของตนเองหรือไม่


สุพจน์ ระบุว่า "นี่ยังไม่พูดถึงที่โครงการเข้ามาทำลายฐานทรัพยากรเดิม บุกรุกป่าคุ้มครองอีกหลายร้อยไร่ ที่มีการตรวจสอบและฟ้องร้องกันอยู่อีกหลายสิบคดี เพราะพื้นที่โครงการไม่เหมาะสม เนื่องจากเป็นวนอุทยาน เป็นป่าชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติ เป็นป่าชายเลน และอยู่ในเขตปิดอ่าวถึงสามชั้นจากกระทรวงเกษตร และกรมประมงอีกด้วย"


นั่น ก็เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยกระบวนการยุติธรรมตัดสิน ไม่ใช่การหาช่องโหว่ ช่องว่าง เพื่อเดินยุทธศาสตร์คัดค้าน เหมือน การจ้องจับผิดของ ตำรวจจราจรจับรถสิบล้อ


สุพจน์ บอกว่า " อยากให้ผู้นำท้องถิ่นที่ยังด้อยข้อมูลด้านลบศึกษาอย่างละเอียดด้วย ก่อนออกมาให้การสนับสนุนทั้งที่มีข้อมูลด้านเดียว เพราะสิ่งที่จิตนาการว่ามันดีมันยังไม่เห็นเป็นรูปธรรม แต่ด้านการทำลาย ด้านคอร์รัปชั่น มีหลักฐานชัดเจนแล้วจะตอบชุมชนว่าอย่างไร ที่สำคัญตัวผู้ใหญ่กำนัน อบต.ต่างๆ ในพื้นที่ก็ยังใช้ทรัพยากรที่ถูกบุกรุกและจะได้รับผลกระทบจากการทำลายของโครงการดังกล่าวอีกด้วย"

ประเด็นนี้สุพจน์ พยายามให้ภาพว่ากลไกรัฐที่สนับสนุนโครงการ มีความอ่อนด้อยในเชิงองค์ความรู้ แต่หากกลไกรัฐเดินในตามแนวคิดของกลุ่มอนุรักษ์ฯก็จะกลายเป็น กลไกรัฐหัวก้าวหน้าที่ได้รับการชื่นชม


สุพจน์ ควรอธิบายต่อไปว่า นายธงชัย เพชรสกุลทอง นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลบ้านกรูด อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งสนับสนุนให้มีการเพิกถอนที่ดินสาธารณะเพื่อให้จินตนา แก้วขาว ได้เช่าที่ซึ่งบุกรุกอยู่นั้น เดิมเคยมีท่าทีสนับสนุนโครงการโรงไฟฟ้าหินกรูด ใช่หรือไม่ หรือกระทั่ง จีรวุฒิ แจวสกุล อดีตนายกเทศมนตรีบ้านกรูด เดิมเคยมีท่าทีคัดค้านโรงไฟฟ้าหินกรูด แต่เมื่อไม่สนับสนุนให้จินตนาได้เช่าที่สาธารณะดังกล่าวจึงทำให้ "ศัตรูกลายเป็นมิตร - มิตรกลายเป็นศัตรู" จริงหรือไม่ (http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9510000132452)

และ(http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9510000147423)


สุพจน์ ควรบอกต่อไปว่า นายสมหมาย ปานทอง กำนันตำบลธงชัย และนายบุญธรรม แดงเครือ นายกอบต.ธงชัย ซึ่งเหมือนน้ำกับน้ำมันกับกลุ่มอนุรักษ์ และมีจุดยืนที่ต่างกันในเรื่องโรงถลุงเหล็กนั้น ในวันที่พวกเขาเห็นด้วยกับการแก้ผังเมืองตำบลบ้านกรูดให้เป็นสีเขียว พวกเขากลายเป็น กลไกรัฐหัวก้าวหน้า ที่มีองค์ความรู้ประกอบการตัดสินใจแล้วใช่หรือไม่
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01pro07281151&sectionid=0112&day=2008-11-28






ที่สำคัญ สุพจน์ ควรบอกว่า นายบำรุง สุดสวาท อดีต ผช.ผญบ.ซึ่งตกเป็นผู้ต้องหาคดียิงนายรักศักดิ์ คงตระกูล พนักงานเครือสหวิริยา นั้น ใช้องค์ความรู้ครบถ้วนแล้วใช่หรือไม่

ถึงที่สุดแล้ว มันอาจต้องย้อนมาทำความเข้าใจเรื่องของ "สุนทรียสนทนา" (Dialog) ของ David Boom ซึ่งนพ.ประเวศ วะสี อธิบายว่า " ไม่เน้นการที่คนเราเถียงสวนกัน เพราะการที่เราเถียงส่วนกันนี้ถือว่าตื้น ไม่เป็นปัญญา เน้นปัญญาจะต้องฟัง ฟังอย่างลึก ถ้าเถียงกันไปมาถือว่าตื้นไม่เกิดปัญญา"
ประเด็นของ Dialog ก็ คือการนำเสนอความรู้ ความคิด และประสบการณ์ของแต่ละคนนโดยไม่เน้นการเอาชนะ คัดคาน หรือถกเถียงกัน หรือให้แตกหักในเรื่องความคิดความเห็น หรือเอาชนะคัดคาน ใช้วิธีการสุนทรียะโดยฟังผู้อื่น ฟังความคิด ประสบการณ์ของผู้อื่นอย่างลึก หรือที่เรียกว่า Deep listening เพื่อพยายามทำความเข้าใจว่า ผู้พูดนั้นพยายามจะสื่อสารอะไร ไม่ใช้ว่าเราจะคอยตั้งประเด็นไปหักล้าง

ถ้าสุพจน์ กำหนดสถานะว่า ตนเองรู้มากกว่า กำนันผู้ใหญ่บ้านนั้น มันก็จะรังนำไปสู่การวิวาทะมากกว่าจะหาทางออก


บทสรุปปิดท้ายของสุพจน์ที่ว่า "อย่างไรก็ดีโครงการโรงถลุงเหล็กดังกล่าว ที่ผ่านมาได้มีการคัดค้านและตรวจสอบจากประชาชนในพื้นที่มาหลายปี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสนใจในการเข้าตรวจสอบและแก้ปัญหาอย่างจริงจังเพื่อที่จะได้คลี่คลายปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ ที่อาจจะทวีความรุนแรงมากขึ้น"


นั่นย่อมเป็นความงดงามของสุพจน์ ที่เปิดเผยท่าทีของการแสวงหาทางออกทางปัญญา ปัญหาคือ สุพจน์ ซึ่งเป็นสายพิราบ ในกลุ่มอนุรักษ์ จะทานน้ำหนัก ชี้ชวนความเห็นของ "กลุ่มสายเหยี่ยว" ได้มากน้อยแค่ไหน

ไม่มีความคิดเห็น: